การดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำและแหล่งอาหารให้แก่สัตว์ป่าและช้างป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขา  ชะเมา – เขาวง จังหวัดระยอง และพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ และได้ดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำและแหล่งอาหารเพิ่มเติม บริเวณแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา – เขาวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบ้านนา – ทุ่งควายกิน เพื่อกำหนดทิศทางการเดินของช้างป่าจากบริเวณอำเภอเขาชะเมาเข้าสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากผลจากงานวิจัยพบว่าพื้นที่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ราบขนาดใหญ่เหมาะสมต่อการพักอาศัยของช้างป่า ดังนั้น หากช้างป่ามีแหล่งน้ำและแหล่งอาหารที่เพียงพอ ช้างป่าจะออกมาหากินนอกบริเวณดังกล่าวน้อยลง 

จากข้อเท็จจริงและปัญหาที่เกิดขึ้นของช้างป่าในพื้นที่อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้หากมีการเก็บข้อมูล ข้อเท็จจริง การเคลื่อนตัวและเส้นทางเดินของช้างป่า และใช้ติดตามเพื่อแจ้งให้ชุมชนทราบ โดยการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ ที่มีคุณลักษณะเฉพาะเพื่อเก็บข้อมูลเชิงสติถิ สามารถดักถ่ายภาพแบบอัตโนมัติได้ในระยะไกลและภาพมีความคมชัดเพราะมีความละเอียดของภาพสูง และสามารถเรียกดูข้อมูลได้ทุกที่จากโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และเครื่องคอมพิวเตอร์

  1. วัตถุประสงค์
  1. เพื่อวิจัยและศึกษาการเคลื่อนตัวและเส้นทางเดินของช้างป่า สู่การวางแผนการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและช้าง 
  2. เพื่อปฏิบัติการร่วมระหว่างศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ช้างป่า อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา

2. เป้าหมาย

เกิดระบบการติดตามการเคลื่อนตัวเพื่อวิเคราะห์เส้นทางเดินของช้างป่า   โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่สู่ต้นแบบการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและช้างป่าอย่างยั่งยืน 

  1. แนวทางการดำเนินงาน
  2. เลือกพื้นที่และกำหนดจุดในการติดตั้งกล้อง พิจารณาจากเส้นทางเดินของช้างป่า และมีสัญญาณโทรศัพท์เป็นสำคัญ เนื่องจากกล้องดักถ่ายภาพจำเป็นต้องใช้สัญญาณโทรศัพท์ในการส่งออกข้อมูล  พื้นที่ ๑ แห่ง มีจุดติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ จำนวน ๒ จุด แต่ละจุดมีระยะห่างที่เหมาะสม โดยจุดติดตั้งกล้องจุดแรกเป็นจุดแจ้งเตือนให้ชุมชนทราบ ส่วนจุดติดตั้งกล้องจุดที่สองคือการเตรียมการเปลี่ยนทิศทางในการเดินของช้างป่าได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหหากช้างป่าจะเดินเข้าสู่บริเวณชุมชนหรือในพื้นที่ทำการเกษตรของประชาชน จากการสำรวจพบว่ามีพื้นที่เหมาะสมในการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ จำนวน ๗ จุด  ดังนี้
  1. พิจารณาคุณสมบัติของกล้อง  ที่มีคุณลักษณะเฉพาะ สามารถดักถ่ายภาพแบบอัตโนมัติทั้งแบบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวได้ในระยะไกลถึงประมาณ ๓๐ เมตร มีความละเอียดของภาพสูง สามารถรับสัญญาณตำแหน่งพิกัดดาวเทียม GPS พร้อมทั้งส่งตำแหน่งของช้างป่าที่พบไปที่ศูนย์กลาง และสามารถเรียกดูข้อมูลได้ทุกที่จากโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และเครื่องคอมพิวเตอร์ (ภาคผนวก ข)
  2. ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูง (Workstation) จำนวน ๑ ชุด พร้อมจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่ (๕๕ นิ้ว) จำนวน ๒ จอ  ที่ศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ช้างป่า   อุทยานแห่งชาติเขา  ชะเมา-เขาวง สำหรับแสดงผลภาพและวีดิทัศน์จากกล้องได้แบบทันที ทั้งในปัจจุบันและที่จะติดตั้งเพิ่มขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวสามารถเพิ่มจอภาพได้มากถึง ๔ หน้าจอ เพื่อให้การติดตามผลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. ทดสอบระบบกล้องและการแสดงผลที่ติดตั้งในพื้นที่และที่ศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ช้างป่า อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง ทั้งนี้ จะมีการทดสอบระบบทั้งหมดเป็นระยะเวลา ๑ สัปดาห์ และทำการทดสอบระยะยาวเป็นเวลาอย่างน้อย ๖ เดือน จากนั้นจะพิจารณาซอฟต์แวร์ให้สามารถรองรับการทำงานของระบบได้
  4. ศึกษาวิจัยและวิเคราะห์การเคลื่อนตัวและเส้นทางเดินของช้างป่า รวมทั้งการวางแผนทำวนเกษตรและเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ที่สอดคล้องกับการกำหนดเส้นทางเดินของช้างป่าและแนวรั้วธรรมชาติ

จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่าพืชที่ช้างไม่ชอบแต่สามารถเป็นพืชเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้ ได้แก่ พืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร อาทิ มะกรูด มะนาว ขิง ข่า ตะไคร้  กระเพรา โหระพา ชะอม พรรณไม้ท้องถิ่น เช่น บุกคางคก ผักกูด เป็นต้น โดยให้เยาวชนและโรงเรียนมีส่วนร่วมในการเพาะพันธุ์กล้าไม้ท้องถิ่น เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชนในพื้นที่

  1. ดูแลและบำรุงรักษากล้องและระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและชุมชนสามารถติดตามเส้นทางเดินของช้างได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที 
  2. แผนการดำเนินงาน

5. ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานประกอบด้วย